รถยนต์มือสอง

ที่นี่ แห่งเดียวที่รวบรวมข้อมูลรถยนต์มือสอง รูปภาพรถมือสองที่คมชัด ตลาดรถและเต้นท์รถมือ2ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย รายละเอียดครบถ้วน อำนวยความสะดวกให้ท่านได้เลือกชมเป็นหมวดหมู่ เช่นรถมือสองเข้าใหม่ อันดับรถมือสองโดนใจ สมาชิกเต้นท์รถมือ2ที่แบ่งตามพื้นที่ และเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้นกับการหาข้อมูลรถมือ2 ตามราคา รถมือ2ตามปี รถยนต์มือสองตามสี รถยนต์มือสองตามยี่ห้อ ที่นี่ที่เดียวที่คุณจะได้ครบ Kooncar.com

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการขับรถเกียร์ออโต้

การใช้เกียร์อัตโนมัติและปุ่มสวิทช์ควบคุมต่างๆ

เกียร์อัตโนมัติจะมีตำแหน่งบอกของแต่ละเกียร์ ซึ่งแต่ละเกียร์จะมีหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ตำแหน่งของเกียร์ได้ อย่างถูกต้อง และทุกครั้งที่จะทำการเปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง “P” หรือ “N” ไปยังตำแหน่งเกียร์อื่นๆ ควรทำการเหยียบเบรกไว้ด้วยทุกครั้ง และป้องกันการ กระตุกของตัวรถด้วย

เกียร์ “ P ” จอดและสตาร์ทเครื่องยนต์ ตำแหน่งนี้ใช้เมื่อจอดรถ ซึ่งจะล็อคเกียร์ได้ ป้องกันไม่ให้รถเลื่อนไหลและ สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ติดได้
เกียร์ “ R ” ถอยหลัง ตำแหน่งนี้จะทำให้รถเคลื่อนที่ถอยหลัง
เกียร์ “ N ” เกียร์ว่าง เมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้ เครื่องยนต์จะไม่เชื่อมต่อกำลังกับล้อรถ ทำให้รถเลื่อนไหลไปมาได้ และสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ติดได้
เกียร์ “ D ” ขับ เมื่อเข้าอยู่ในตำแหน่งนี้รถจะเคลื่อนที่ออกไปข้างหน้า เมื่อคุณเหยียบคันเร่งขณะที่รถแล่นเร็วขึ้น เกียร์ก็จะเปลี่ยนขึ้นเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อลดความเร็วระดับของเกียร์ก็จะลดเปลี่ยนเองตามความเร็ว
เกียร์ “ 2 ” เกียร์ 2 ในตำแหน่งนี้ เกียร์จะเปลี่ยนเฉพาะเกียร์ 1 และ 2 เท่านั้น เมื่อต้องการให้เครื่องยนต์ช่วยเบรกหรือต้องการขับลงเขา
เกียร์ “ L ” เกียร์ต่ำ ในตำแหน่งนี้ เกียร์จะทำงานที่เกียร์ 1 อย่างเดียว ใช้เมื่อต้องการการฉุดลากมากกว่าเกียร์ 2 หรือต้องการให้เครื่องยนต์ช่วยเบรกมากกว่าเกียร์ 2

ข้อควรระวังในการใช้เกียร์อัตโนมัติสำหรับรถ
• ขณะที่รถหยุดนิ่งควรเหยียบเบรกก่อนเข้าเกียร์
• ก่อนที่จะเปลี่ยนเกียร์กลับทิศทางเดินหน้าหรือถอยหลังควรที่จะให้รถหยุดสนิทเสียก่อน
• ไม่ควรกดปุ่มปลดล็อคในการเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งจะใช้เฉพาะเกียร์ที่ต้องกดปุ่มปลดล็อคเท่านั้น เช่น เกียร์ P,R,2 และ L

ข้อควรระวังที่ได้กล่าวถึงนี้ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของรถเอง เนื่องจากในขณะที่จะเข้าเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง ควรให้รถจอดให้สนิทเสียก่อน เพื่อป้องกันผ้าคลัทช์ที่อยู่ในชุดเกียร์สึกหรอเร็วกว่าปกติ เพราะความแตกต่างระหว่างรอบของเครื่องยนต์ที่สูง อาจทำให้ผ้าคลัทช์ในชุดเกียร์ ์เกิดการลื่นไถลในขณะที่จะทำการจับยึดกับแผ่นรอง จึงทำให้เกิดการสึกหรอที่เร็วขึ้นและยังทำให้น้ำมันเกียร์สกปรกเร็วขึ้นด้วย ดังนั้นในการเปลี่ยน เกียร์ควรหยุดรถให้สนิทเสียก่อน พร้อมกับเหยียบเบรกไว้เพื่อป้องกันการกระตุก และให้คลัทช์ได้จับเต็มที่ก่อนก่อนที่จะทำการเหยียบคันเร่งเพื่อออกรถหรือ ถอยหลังต่อไป

อีกเรื่องที่ข้อควรระวังได้กล่าวถึง คือ เรื่องการกดปุ่มปลดล๊อคเกียร์ ก็เพื่อป้องกันอันตรายจากการพลาดไปเข้าเกียร์ผิด เช่น ในขณะที่ต้องการจอดรถหรือจะเปลี่ยนจาก D ไป N หากเรากดปุ่มปลดล็อคเกียร์ไว้ด้วย อาจจะทำให้หลุดจากเกียร์ N ไปที่ R ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้ ดังนั้นเราต้องการจะเปลี่ยนจาก D ไป N ควรจะเลื่อนเกียร์ไปเลยไม่ต้องกดปุ่มปลดล็อค เพื่อไม่ให้เกียร์เลยไปที่ R หรือ P เพราะนอกจากจะทำให้เกียร์ชำรุด แล้วยังอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่และผู้ที่อยู่ในรถรวมถึงบุคคลอื่น ด้วย

ปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟ [O/D OFF]
ปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟ [O/D OFF] จะมีไว้เพื่อเป็นปุ่มกดสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟอ๊อฟ [O/D OFF] รถจะวิ่งได้ 3 เกียร์ คือเกียร์ 1 ถึงเกียร์ 3 [D3] และสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟออน [O/D ON] รถจะวิ่งได้ 4 เกียร์ คือเกียร์ 1 ถึงเกียร์ 4 [D4] แต่อย่างไรก็ตามควรให้โอเวอร์ไดร์ฟออน [O/D ON] เพื่อที่รถยนต์จะวิ่งได้ครบทุกเกียร์ หากโอเวอร์ไดร์ฟอ๊อฟ [O/D OFF] แสดงขึ้นมาที่หน้าปัทม์รถยนต์แสดงว่ารถจะวิ่งได้แค่ 3 เกียร์ คือ [D1,2,3] จะมีผลต่อการกินน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นเมื่อขับขี่ด้วยความเร็ว ปกติควรให้โอเวอร์ไดร์ฟออน [O/D ON] ไว้ตลอดเวลาเพื่อช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟอ๊อฟ [ O/D OFF ] จะใช้ก็ต่อเมื่อรถวิ่งที่ความเร็วปกติ เกียร์ [D4] และเมื่อเราต้องการที่จะเร่งแซงรถคันข้างหน้าเราจึงกดปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ ฟอ๊อฟ [ O/D OFF ] รถก็จะเปลี่ยนจากเกียร์ [D4] มาเป็น [D3] ทำให้รถมีกำลังที่จะวิ่งแซงรถคันข้างหน้า เมื่อเราวิ่งแซงรถคันข้างหน้าได้ แล้วเราควรยกเลิกโอเวอร์ไดร์ฟอ๊อฟ [O/D OFF] ให้เป็น โอเวอร์ไดร์ฟออน [ O/D ON ] รถก็จะเปลี่ยนจากเกียร์ [D3] มาเป็น [D4] รถก็จะวิ่งด้วยความเร็วปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถมือสอง ราคารถยนต์มือสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น